Set as your home page  |  Bookmark                                                                                     Welcome to fristweb!   Join Now  |  Sign In  |  Build Site  |  Mail  |  Training

ไทย 简体中文 繁體中文 English 日本語 한국어 Tiếng Việt Deutsch Français Italiano Español Русско Portuguese
ที่บ้าน บริษัท ผลิตภัณฑ์ ข่าวสาร งาน และ อาชีพ คนหางาน คนขายของ ซื้อของ ตัวแทน ดำเนินการ การประสานงาน การฝึก

ระวัง! คนนอนกรนดังเสี่ยงเป็นโรคอัลไซเมอร์

เวลา: 2007-06-14 มูลฐาน: สำนักข่าวต่างประเทศ สำนักงานกองทุนสนับสนุนการสร้างเสริมสุขภาพ (สสส.)

ระวัง! คนนอนกรนดังเสี่ยงเป็นโรคอัลไซเมอร์

 

 

 

เหตุสมองขาดออกซิเจน จนหัวใจและปอดทำงานประสานกันไม่เต็มที่

 

            การกรนหนักเพิ่มความเสี่ยงโรคอัลไซเมอร์ เช่นเดียวกับคนที่เป็นโรคหลอดเลือดสมอง หัวใจวาย หรือบาดเจ็บที่ศีรษะ เนื่องจากสมองขาดออกซิเจนไปหล่อเลี้ยง

 

            ศาสตราจารย์คริส เพียร์ส จากคณะแพทย์ศาสตร์ มหาวิทยาลัยลีดส์ ซึ่งเป็นผู้นำการวิจัย ตั้งเป้าศึกษาว่า เกิดอะไรขึ้นเมื่อระดับออกซิเจนที่หล่อเลี้ยงสมองลดลงด้วยสาเหตุต่างๆ ตั้งแต่อาการระยะยาว เช่น โรคถุงลมโป่งพอง แน่นหน้าอก ไปจนถึงอาการที่เกิดขึ้นกะทันหัน เช่น หัวใจวาย โรคหลอดเลือดสมอง หรือแม้แต่การบาดเจ็บที่ศีรษะ

 นอนกรน,อัลไซเมอร์,ปอด,หัวใจ,ประสาท,บาดเจ็บ,ศีรษะ,สมอง,ออกซิเจน,สุขภาพ,สสส.

            เพียร์สพบว่า คนที่กรนดังอาจมีปัญหาเช่นเดียวกัน เพราะบางช่วงเวลาขณะหลับ สมองอาจได้รับออกซิเจนไม่เพียงพอ ทำให้หัวใจและปอดทำงานประสานกันไม่ได้เต็มที่

 

            นักวิจัยจากลีดส์ศึกษาความเสียหายจากภาวะที่สมองได้รับออกซิเจนไม่เพียงพอจากเซลล์สมองส่วน astrocytes ที่ทำหน้าที่ควบคุมการซึมผ่านเข้าออกของสารเคมีต่างๆ จากเส้นเลือดสู่เนื้อเยื่อประสาท

 

            นักวิจัยพบว่า หากแอสโตรไซต์ได้รับออกซิเจนไม่เพียงพอ จะไม่สามารถดูดซึมสารตกค้าง ทำให้สารเหล่านั้นสะสมและกลายเป็นพิษ และสารพิษเหล่านี้เองที่เป็นต้นเหตุของโรคอัลไซเมอร์

 

            แม้ถือเป็นข่าวร้ายสำหรับผู้ที่กรนหนัก แต่อัลไซเมอร์ส โซไซตี้แสดงความยินดีกับการค้นพบนี้ เพราะช่วยไขข้อข้องใจเกี่ยวกับการทำงานของสมอง และช่วยอธิบายว่าเหตุใดบางคนจึงเป็นโรคอัลไซเมอร์ แต่บางคนไม่เป็น

 

            ศาสตราจารย์ซูซาน ซอเรนเซน หัวหน้าฝ่ายวิจัยของอัลไซเมอร์ส โซไซตี้ กล่าวว่านักวิจัยของลีดส์ศึกษาบทบาทของเซลล์ที่สนับสนุนเซลล์ประสาทในสมอง แต่สิ่งที่น่าตื่นเต้นคือ แทนที่จะมุ่งเน้นเซลล์ประสาทดังกล่าว ทีมนักวิจัยกลับให้ความสำคัญกับกระบวนการในสมอง ซึ่งปัจจุบันยังไม่มีคำอธิบายโดยละเอียด

 

            ทั้งนี้ อัลไซเมอร์เป็นโรคทางสมองที่ร้ายแรงและไม่สามารถรักษาได้ ใช้เวลาก่อตัวถึง 30 ปี และหลังอายุ 65 ปี ความเสี่ยงในการเป็นโรคนี้จะเพิ่มขึ้น 2 เท่าทุก 5 ปี

 

 

 

ที่มา

ข้อมูลจาก : ผู้จัดการรายวัน

ภาพประกอบ : www.thaihealth.or.th

 

 

 

 

 

Copyright © 2000 - 2009 บริษัท เนทเวอร์คกิ้ง เทคโนโลยี (ไทยแลนด์) จำกัด All Rights Reserved.