Set as your home page  |  Bookmark                                                                                     Welcome to fristweb!   Join Now  |  Sign In  |  Build Site  |  Mail  |  Training

ไทย 简体中文 繁體中文 English 日本語 한국어 Tiếng Việt Deutsch Français Italiano Español Русско Portuguese
ที่บ้าน บริษัท ผลิตภัณฑ์ ข่าวสาร งาน และ อาชีพ คนหางาน คนขายของ ซื้อของ ตัวแทน ดำเนินการ การประสานงาน การฝึก

คาดยอดอัลไซเมอร์ทั่วโลกพุ่ง 4 เท่าในปี 2050

เวลา: 2007-06-14 มูลฐาน: สำนักข่าวต่างประเทศ สำนักงานกองทุนสนับสนุนการสร้างเสริมสุขภาพ (สสส.)

คาดยอดอัลไซเมอร์ทั่วโลกพุ่ง 4 เท่าในปี 2050

 

 

 

 

 

เตือนหากไม่เตรียมการจะรับมือลำบาก เผยอาจมีมากกว่า106ล้านคนทั่วโลก

 คุณภาพชีวิต,อัลไซเมอร์,ปวดหัว,สมอง,ร่างกาย,ความจำเสื่อม,ผู้สูงอายุ,ความจำ,สุขภาพ,ประสาท,ศีรษะ

สำนักข่าวบลูมเบิร์กออนไลน์รายงานวานนี้ว่านักวิทยาศาสตร์ได้คาดการณ์ว่าภายในปี 2050 หรืออีก 43 ปีข้างหน้าทั่วโลกจะมีผู้ป่วยด้วยโรคอัลไซเมอร์เพิ่มมากขึ้นเป็น 4 เท่าของที่มีอยู่ในปัจจุบัน และได้เรียกร้องว่าควรต้องหามาตรการในการชะลออาการของโรคความจำเสื่อมนี้ออกไปให้ได้สักปีก็ยังดีเพราะจะช่วยลดจำนวนผู้ป่วยที่ต้องการการดูแลได้มากกว่า 10 เปอร์เซ็นต์

 

ทั้งนี้จากการคาดการณ์พบว่าภายในปี 2050 จะมีผู้ป่วยโรคอัลไซเมอร์จำนวนมากกว่า 106 ล้านคนทั่วโลก อันมีสาเหตุมาจากหลายปัจจัยด้วยกัน และหนึ่งในปัจจัยหลักก็คือการที่มีจำนวนประชาการสูงอายุเพิ่มมากขึ้น โดยจำนวนผู้ป่วยจะเพิ่มขึ้นมากที่สุดในประชากรภูมิภาคเอเซีย ซึ่งจะมีจำนวนผู้ป่วยอัลไซเมอร์คิดเป็นจำนวน 59 เปอร์เซ็นต์ของผู้ป่วยทั่วโลก จากปัจจุบันที่มีอยู่แค่เพียง 48 เปอร์เซ็นต์ การคาดการณ์เรื่องจำนวนผู้ป่วยโรคอัลไซเมอร์นี้ทำโดยทีมนักวิจัยจากสหรัฐอเมริกาและมีการเผยแพร่เมื่อวานนี้

 

นักวิจัยกล่าวว่าถ้าคิดตามอัตราการป่วยในปัจจุบัน จะพบว่ามีผู้ป่วย 1 คนในประชากรทุก 85 คน และ 43 เปอร์เซ็นต์ของผู้ป่วยจำนวนนี้จะเป็นอัลไซเมอร์ขั้นสุดท้ายที่จำเป็นต้องได้รับการดูแลแบบเนสซิ่งโฮม ด้วยเหตุผลหนึ่งที่ว่าโรคอัลไซเมอร์ปัจจุบันยังไม่มียารักษาให้หายขาดและสถาบันสุขภาพแห่งชาติสหรัฐระบุว่าเป็นโรคที่เป็นเป็นสาเหตุหลักของการเป็นโรคสมองเสื่อมในคนสูงอายุ และค่าใช้จ่ายในการดูแลผู้ป่วยโรคนี้ก็ค่อนข้างสูงเพราะจำเป็นต้องได้รับการดูแลในสถานบริการเฉพาะด้าน โดยเดือน ๆ หนึ่งค่าใช้จ่ายตกอยู่ที่ ประมาณ 5,000 เหรียญสหรัฐฯต่อคน

 

“ประเด็นอยู่ที่ว่าเราไม่ต้องการปล่อยให้ไปถึงจุดวิกฤตตรงนั้น” นายรอน บรู๊กเมเยอร์ผู้นำการวิจัย และเป็นนักชีวสถิติประจำอยู่ที่โรงเรียนการสาธารณสุขบลูมเบิร์ก มหาวิทยาลัยจอห์นส์ ฮ๊อปกินส์ ซึ่งตั้งอยู่ที่บัลติมอร์ กล่าว และว่า “จะเป็นการดีอย่างมากหากว่าเราจะสามารถชะลอระยะเวลาการเกิดอาการของโรคออกไปได้บ้างเพราะจะสามารถช่วยลดผลกระทบที่เกิดขึ้นได้มากพอสมควร”

 

ทั้งนี้การวิจัยของมหาวิทยาลัยจอห์นส์ ฮ๊อปกินส์นี้ศึกษาพบว่าแม้เพียงการชะลอการเกิดอาการของโรคอัลไซเมอร์ออกไปได้สัก 1 ปี ก็จะสามารถลดจำนวนผู้ป่วยโรคนี้ไปได้ถึง 12 ล้านคนภายในปี 2050 ผลการศึกษานี้เตรียมตีพิมพ์เผยแพร่ในวารสารวิชาการ ด้านโรคอัลไซเมอร์และความจำเสื่อม “ เจอร์นัล ออฟ อัลไซเมอร์ แอนดีเมนเชีย” ฉบับประจำเดือนกรกฎาคม

 

นายบรู๊กเมเยอร์กล่าวว่า สำหรับโรคอัลไซเมอร์นั้นโดยปกติแล้วมักจะตรวจพบในคนสูงอายุตั้งแต่ 60 ปีขึ้นไปและอัตราป่วยจะเพิ่มขึ้นเป็น 2 เท่าในช่วงอายุที่เพิ่มขึ้นทุกๆ 5 ปีหลังจากอายุ 80 ปีไปแล้ว

 

ด้านแนนซี สไตล์สซึ่งเป็นนักวิจัยอาวุโสประจำที่ศูนย์การวิจัยโรคอัลไซเมอร์ของมหาวิทยาลัยแห่ง เคนตัคกี กล่าวว่าการวิจัยนี้ได้ชี้ให้เห็นว่ามีความจำเป็นจะต้องพัฒนาการตรวจหาโรคอัลไซเมอร์ให้ได้แต่เนิ่น ๆ ขึ้นกว่าเดิม และจำเป็นต้องสร้างความตระหนักเกี่ยวกับเรื่องนี้ในกลุ่มผู้เกี่ยวข้องทั้งหมดนับตั้งแต่ผู้ให้บริการด้านสุขภาพไปจนถึงพนักงานบริการของธนาคารกันเลยทีเดียว นั่นก็เพราะว่าคนที่เป็นโรคความจำเสื่อมระดับน้อย ๆ ไปจนถึง กลาง ๆ กว่าครึ่ง ถึง 3 ใน 4 คนยังไม่ได้รับการวินิจฉัยจากแพทย์อยู่เลย

 

“อาการของโรคนี้บางทีก็ดูยากซะจนทำให้การตรวจวินิจฉัยที่ใช้กับโรคทางกายโดยทั่วไปไม่สามารถตรวจเจอได้” สไตล์สซึ่งไม่ได้เกี่ยวข้องกับการวิจัยของทีมมหาวิทยาลัยจอห์นส์ ฮ๊อปกินส์กล่าวและว่าคนอื่น ๆ ในชุมชนเดียวกันน่าจะต้องช่วยกันสังเกตุซึ่งกันและกันว่าใครน่าจะมีอาการของโรคนี้

 

“พนักงานธนาคารจะสังเกตุอาการของโรคนี้ได้ดีเพราะว่าพนักงานเหล่านี้จะเป็นคนที่เห็นว่าใครมีปัญหาเรื่องความจำเป็นต้นว่าคนที่ไม่สามารถกรอกเช็กได้ถูกต้อง” สไตล์สกล่าว

 

ด้านสถาบันสุขภาพแห่งชาติสหรัฐฯระบุว่าอาการของโรคอัลไซเมอร์จะเริ่มจากปัญหาเรื่องความจำและจะจบลงด้วยการที่สมองถูกทำลายอย่างรุนแรง อาการแรกเริ่มของโรคอาจจะเป็นอาการขี้หลงขี้ลืมแบบเล็ก ๆ น้อย ๆ ก่อน

 

 

 

ที่มา :

ข้อมูลจาก :  สำนักข่าวต่างประเทศ สำนักงานกองทุนสนับสนุนการสร้างเสริมสุขภาพ (สสส.)

ภาพประกอบ :  www.thaihealth.or.th

 

 

 

 

 

 

 

Copyright © 2000 - 2009 บริษัท เนทเวอร์คกิ้ง เทคโนโลยี (ไทยแลนด์) จำกัด All Rights Reserved.