Set as your home page  |  Bookmark                                                                                     Welcome to fristweb!   Join Now  |  Sign In  |  Build Site  |  Mail  |  Training

ไทย 简体中文 繁體中文 English 日本語 한국어 Tiếng Việt Deutsch Français Italiano Español Русско Portuguese
ที่บ้าน บริษัท ผลิตภัณฑ์ ข่าวสาร งาน และ อาชีพ คนหางาน คนขายของ ซื้อของ ตัวแทน ดำเนินการ การประสานงาน การฝึก

เตรียมตั้งศูนย์เตือนภัยแห่งเอเชีย ในไทย พร้อมทำการ ต.ค. นี้

เวลา: 2007-06-13 มูลฐาน: www.thaiware.com

เตรียมตั้งศูนย์เตือนภัยแห่งเอเชีย ในไทย พร้อมทำการ ต.ค. นี้

นายพิจิตต รัตตกุล รักษาการผู้อำนวยการบริหาร มูลนิธิศูนย์เตรียมความพร้อมป้องกันภัยพิบัติแห่งเอเชีย หรือ เอดีพีซี (ADPC: Asian Disaster Preparedness Center) กล่าวว่า จากการดำเนินงานมาตลอดระยะเวลา 21 ปีที่มุ่งเป็นศูนย์กลางประสานงานกรมอุตุนิยมวิทยา รวมถึงกรมป้องกันและบรรเทาสาธารณภัยให้กับประเทศไทย กัมพูชา เวียดนาม และประเทศอื่นๆ ในภูมิภาคเอเชียตะวันออกเฉียงใต้และในแถบมหาสมุทรอินเดีย รวม 23 ประเทศ ล่าสุด มูลนิธิฯ ได้เตรียมที่จะตั้งศูนย์เตรียมความพร้อมป้องกันภัยพิบัติแห่งเอเชียขึ้นในประเทศไทย ณ สถาบันเทคโนโลยีแห่งเอเชีย หรือ เอไอที มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์ ศูนย์รังสิต ในราวเดือนตุลาคม 2550 นี้ โดยจะใช้ซูเปอร์คอมพิวเตอร์ของไอบีเอ็ม ที่ลงทุนไปประมาณ 1 ล้านเหรียญสหรัฐฯ เป็นศูนย์ประมวลผลหลัก ตามข้อตกลงที่ 23 ประเทศมีมติให้มูลนิธิฯ ทำหน้าที่ให้บริการด้านข้อมูลการเตือนภัยเพื่อรับมือกับภัยทางธรรมชาติต่างๆ ได้อย่างมีประสิทธิภาพ

รักษาการผู้อำนวยการบริหารเอดีพีซี กล่าวต่อว่า ศูนย์เตรียมความพร้อมฯ แห่งนี้ จะทำหน้าที่รวบรวมข้อมูลจากกรมอุตุฯ ของประเทศต่างๆ เพื่อประมวลผลสร้างแบบจำลองผลกระทบ พยากรณ์สิ่งที่อาจเกิดขึ้นได้อย่างแม่นยำยิ่งขึ้น เพราะแต่เดิมไม่มีการประสานงานมายังศูนย์ฯ แต่ละประเทศก็จะมีเฉพาะข้อมูลในประเทศของตน แต่ไม่ทราบถึงปรากฏการณ์ในประเทศอื่นที่อาจส่งผลกระทบต่อตนได้ นอกจากนี้ การทำงานของศูนย์ฯ จะเป็นไปอย่างทันทีทันใด หรือเรียลไทม์ (real time) โดยประเทศสมาชิกจะสามารถติดตามการประมวลผลได้ตลอดเวลาจากคอมพิวเตอร์ที่มีการเชื่อมต่อกัน ส่วนประเทศใดที่ยังไม่มีความพร้อมในเรื่องโครงสร้างพื้นฐานเหล่านี้ มูลนิธิฯ ก็จะประสานไปยังหน่วยงานที่เกี่ยวข้อง เช่น โครงการพัฒนาแห่งสหประชาชาติ (UNDP) เพื่อให้การช่วยเหลือสนับสนุนต่อไป

นายพิจิตต กล่าวด้วยว่า การเตือนภัยของศูนย์ฯ จะทำได้ภายใน 6 นาทีหลังจากได้รับข้อมูล ทั้งนี้ นอกจากจะเป็นการรับข้อมูลจากกรมอุตุฯ ใน 23 ประเทศแล้ว ยังมีการเชื่อมโยงข้อมูลกับจุดวัดความสั่นสะเทือนจากแผ่นดินไหวจำนวนกว่า 100 จุดในเอเชีย และทุ่นวัดคลื่นสึนามิอีก 4 จุด ที่เอดีพีซีติดตั้งให้กับประเทศไทยและพม่าด้วย ทั้งนี้ ยืนยันว่าไม่มีการทำงานซ้ำซ้อนกับศูนย์เตือนภัยพิบัติแห่งชาติของประเทศไทยแต่อย่างใด เพราะจะทำงานประสานกันด้านข้อมูล

ด้าน นางศุภจี สุธรรมพันธุ์ กรรมการผู้จัดการ บริษัท ไอบีเอ็ม ประเทศไทย จำกัด กล่าวว่า สำหรับซูเปอร์คอมพิวเตอร์ที่ทำการติดตั้งให้กับศูนย์เตรียมความพร้อมฯ นั้น เป็นเครื่อง IBM System p575 มีประสิทธิภาพการประมวลผล 9 แสนล้านคำสั่งต่อวินาที (0.9 Teraflops) ซึ่งเป็นแพลตฟอร์มที่ได้รับความนิยมจากหน่วยงานด้านกรมอุตุนิยมวิทยาทั่วโลก พร้อมด้วย IBM HPC Software และระบบจัดเก็บข้อมูล IBM System Storage DS4800 และ TS3310 โดยร่วมพัฒนาโซลูชั่นกับบริษัท ยิป อิน ซอย นอกจากนี้ ยังมีโครงการพัฒนาศักยภาพบุคลากรที่จะเข้ามาทำหน้าที่ในศูนย์แห่งนี้อีกด้วย

 



อ้างอิงจาก : thairath.co.th

 

 

Copyright © 2000 - 2009 บริษัท เนทเวอร์คกิ้ง เทคโนโลยี (ไทยแลนด์) จำกัด All Rights Reserved.