Set as your home page  |  Bookmark                                                                                     Welcome to fristweb!   Join Now  |  Sign In  |  Build Site  |  Mail  |  Training

ไทย 简体中文 繁體中文 English 日本語 한국어 Tiếng Việt Deutsch Français Italiano Español Русско Portuguese
ที่บ้าน บริษัท ผลิตภัณฑ์ ข่าวสาร งาน และ อาชีพ คนหางาน คนขายของ ซื้อของ ตัวแทน ดำเนินการ การประสานงาน การฝึก

ไอบีเอ็มคาดอนาคตค้าปลีกอยู่บนโลกเสมือน

เวลา: 2007-06-12 มูลฐาน: ผู้จัดการออนไลน์

ไอบีเอ็มคาดอนาคตค้าปลีกอยู่บนโลกเสมือน

       ไอบีเอ็มชี้แนวโน้มการให้บริการและเสนอขายสินค้าในธุรกิจค้าปลีกว่าจะมีทั้งหน้าร้านแบบปัจจุบันและแบบผ่านอินเทอร์เน็ตซึ่งเป็นหน้าร้านเสมือนจริงโดยผู้บริโภคจะเป็นผู้สร้างแรงผลักดันให้กับผู้ประกอบการ
      
       เฟรดเดอริค แลม ผู้อำนวยการศูนย์นวัตกรรมทางด้านอุตสาหกรรมค้าปลีก ไอบีเอ็ม กล่าวว่า ในอนาคต ผู้บริโภค คือผู้กำหนดลักษณธของธุรกิจค้าปลีกว่าจะดำเนินไปในทิศทางใด ซึ่งหลักสำคัญของธุรกิจค้าปลีกในอนาคตอาจจะไม่ได้จำกัดอยู่แค่ตัวสินค้า แต่จะรวมไปถึงการสร้างปฏิสัมพันธ์ระหว่างผู้บริโภคที่มีไลฟ์สไตล์คล้ายๆกัน (Community Experience) หรือการให้บริการตนเอง (Self Service) ที่ลูกค้าสามารถทีจะเข้าถึงสินค้าได้ทุกที่ทุกเวลาผ่านสื่อต่างๆ ไม่ว่าจะเป็น อุปกรณ์การสื่อสาร สื่อโทรทัศน์ สื่อออนไลน์ รวมไปถึงเทคโนโลยีอินเทอร์เน็ตสามมิติ ซึ่งเป็นการสร้างบรรยากาศการซื้อสินค้าที่เสมือนจริง ผู้ซื้อและผู้ขายจะสามารถทำทุกขั้นตอนด้วยตัวเองทั้งการนำเสนอและค้นข้อมูลสินค้า การเลือกและลองใช้ การสั่งซื้อสินค้า การทำธุรกรรมทางการเงินต่างๆ ผ่านทาง "Virtual World" หรือโลกเสมือนจริง
      
       "จากผลสำรวจข้อมูลของทีมวิจัยของไอบีเอ็ม พบว่าผู้บริโภคส่วนใหญ่จะหันมาใช้การค้นคว้าหาข้อมูลในอินเทอร์เน็ตถึง 65 % และมีอีกไมต่ำกว่า 27% ที่เห็นโฆษณาตามอินเทอร์เน็ตและเกิดความสนใจในตัวสินค้าๆนั้น ซึ่งส่วนใหญ่จะเป็นสินค้าที่เกิดจากไลฟ์สไตล์ในการดำเนินชีวิต"
      
       แลมกล่าวว่า ปัจจัยสำคัญที่จะทำให้ธุรกิจค้าปลีกเกิดความเปลี่ยนแปลงนั้นจะมาจากเทคโนโลยีแทบทั้งสิ้น ไม่ว่าจะเป็นการเข้าถึงได้จากทุกที่(Pervasive Access) ผ่านอุปกรณ์การสื่อสาร เครื่องอำนวยความสะดวกต่างๆที่อยู่ในชีวิตประจำวัน
      
       "ธุรกิจค้าปลีกไม่ได้ขึ้นอยู่กับผู้ขายเป็นผู้แนะนำสินค้าเพียงอย่างเดียวแล้วเพราะจากการที่มีอินเทอร์เน็ตทำให้ใครๆก็สามารถกลายเป็นผู้ขายได้ ไม่ว่าจะเป็นผ่าน ebay thaisecondhand และอื่นๆที่ทำให้สามารถเปิดหน้าร้านผ่านทางอินเทอร์เน็ตได้ และที่สำคัญที่สุดคือการนำเสนอขายสินค้าแบบเสมือนจริง (Product Virtualization) ที่ลูกค้าสามารถเลือกสินค้าโดยไม่จำเป็นต้องไปที่ร้านจริงๆ โดยใช้คอนเซ็ปต์ของ Mass Custimization มาเป็นมาตรฐานในการนำเสนอขายสินค้าและบริการต่างๆ"
      
       สิ่งที่เกิดขึ้นในขณะนี้คือไอบีเอ็มกำลังร่วมมือกับลูกค้าหลายสิบรายทำการทดลองโดยการนำเทคโนโลยี โลกเสมือนจริงมาใช้ในการทำธุรกิจในทุกๆส่วน โดบผู้ใช้สามารถเข้าไปทดลองได้จากตัวโปรแกรมที่ชื่อว่า Second Life ผ่านทางอินเทอร์เน็ตที่ www.secondlife.com

       
       การร่วมมือดังกล่าวถือเป็นการต่อยอดจากแนวคิดที่ไอบีเอ็มประกาศไว้ในปีที่ผ่านมา (2549) ครั้งนั้นไอบีเอ็มได้ออกแนวคิดเกี่ยวกับการค้าปลีกแบบใหม่ซึ่งใช้การยึดผู้บริโภคเป็นศูนย์กลางในการเข้าถึงสินค้าต่างๆ โดยใช้นวัตกรรมใหม่ๆมาเสริมให้ธุรกิจมีความน่าสนใจมากขึ้น ซึ่งวิธีการดังกล่าวนั้นเริ่มแพร่หลายแล้วในต่างประเทศ
      
       นายกิตติพงษ์ อัศวพิชยนต์ รองกรรมการผู้จัดการ ธุรกิจทั่วไปและธุรกิจอุตสาหกรรม ไอบีเอ็ม ประเทศไทย กล่าวว่า หลักสำคัญที่ผู้ประกอบการต้องมีคือ ต้อสร้างความแตกต่างผ่านประสบการณ์ของลูกค้า เร่งสร้างแบรนด์ให้ผู้บริโภครู้สึกเหมือนเราเป็นมากกว่าห้างร้านธรรมดา นอกจากนี้ยังต้องทุ่มเททรัพยากรเพื่อสร้างประสิทธิภาพในการดำเนินการอย่างเต็มที่ และสุดท้ายคือระบบการบริหารและการจัดการรูปแบบการนำเสนอสินค้าที่จะต้องปรับเปลี่ยนได้ตามความต้องการของการตลาด

       Company Relate Link :
       IBM



อ้างอิงจาก : ผู้จัดการออนไลน์

 

 

Copyright © 2000 - 2009 บริษัท เนทเวอร์คกิ้ง เทคโนโลยี (ไทยแลนด์) จำกัด All Rights Reserved.