Set as your home page  |  Bookmark                                                                                     Welcome to fristweb!   Join Now  |  Sign In  |  Build Site  |  Mail  |  Training

ไทย 简体中文 繁體中文 English 日本語 한국어 Tiếng Việt Deutsch Français Italiano Español Русско Portuguese
ที่บ้าน บริษัท ผลิตภัณฑ์ ข่าวสาร งาน และ อาชีพ คนหางาน คนขายของ ซื้อของ ตัวแทน ดำเนินการ การประสานงาน การฝึก

ไอซีทีแย้มพัฒนา “อาร์เอฟไอดี” สยบไฟใต้

เวลา: 2007-06-12 มูลฐาน: ผู้จัดการออนไลน์

ไอซีทีแย้มพัฒนา “อาร์เอฟไอดี” สยบไฟใต้

        ที่ปรึกษา รมว.ไอซีที เผยเทคโนโลยีสื่อสารรุ่นต่อไปต้องไร้สายด้วยเทคโนโลยีที่ดีกว่าปัจจุบัน แย้มกำลังพัฒนาโครงการอาร์เอฟไอดีสยบไฟใต้ ฝังแท็กไว้ในบัตรประชาชน 3 จว.ใต้แทนสมาร์ทการ์ด อ่านข้อมูลได้ทันทีที่เดินผ่าน
     
 
       รศ.ดร.สุเจตน์ จันทรังษ์ ที่ปรึกษา รมว.
เทคโนโลยีสารสนเทศและการสื่อสาร (ไอซีที) ร่วมบรรยายในงานเสวนาวิชาการ “การพัฒนาวิทยาศาสตร์ เทคโนโลยี และไอซีทีในทศวรรษหน้า (พ.ศ.2550 -2559)” ที่จัดขึ้นโดยคณะวิทยาศาสตร์ มหาวิทยาลัยมหิดล ร่วมกับสถาบันพระปกเกล้าฯ หลักสูตรการบริหารงานภาครัฐและกฎหมายมหาชนรุ่นที่ 6 ณ คณะวิทยาศาสตร์ มหาวิทยาลัยมหิดล กรุงเทพฯ เมื่อวันที่ 21 พ.ค.
      
       รศ.ดร.สุเจตน์ กล่าวถึงไอซีทีไทยในทศวรรษหน้าว่า เทคโนโลยีไอซีทีในยุคหน้าที่ประเทศไทยต้องพัฒนาให้ถึงคือ เทคโนโลยีการสื่อสารแบบไร้สายด้วยเทคโนโลยีใหม่ที่ดีกว่าระบบไร้สายปัจจุบัน ซึ่งยังมีความล่าช้าอยู่มาก พร้อมๆ กับการคำนึงถึงระบบการรักษาความปลอดภัยในการใช้งาน ตัวอย่างโครงการพัฒนาของกระทรวงไอซีทีขณะนี้ เช่น การนำระบบอาร์เอฟไอดี หรือระบบการระบุลักษณะด้วยคลื่นความถี่วิทยุ มาใช้ในการรักษาความสงบใน 3 จังหวัดชายแดนภาคใต้
      
       สำหรับเทคโนโลยีดักงกล่าว รศ.ดร.สุเจตน์ เผยว่า จะมีความสะดวกในการเฝ้าระวังความปลอดภัยกว่าการใช้บัตรประชาชนแบบสมาร์ทการ์ด โดยการฟังแท็กอาร์เอฟไอดีไว้ภายในบัตรประชาชน ซึ่งจะทำให้ทราบข้อมูลส่วนบุคคลได้ทันทีเมื่อประชาชนเดินผ่านเครื่องอ่านอาร์เอฟไอดี โดยไม่จำเป็นต้องนำบัตรประชาชนมารูดการ์ดทีละราย
      
       อย่างไรก็ดี เทคโนโลยีอาร์เอฟไอดีนี้ยังจะต้องมีการพัฒนากันต่อไปให้เครื่องอ่านอาร์เอฟไอดีสามารถอ่านข้อมูลจากแท็กได้ในระยะห่างที่เหมาะแก่การใช้งานอย่างน้อย 3 เมตรจากเครื่องอ่าน พร้อมทั้งพยายามแก้จุดบอดของระบบหากมีผู้เจตนาหลอกระบบด้วยแท็กที่บล็อกสัญญาณจากเครื่องอ่านได้
    
  
       สุดท้ายนี้ รศ.ดร.สุเจตน์ บอกด้วยว่า สำหรับศักยภาพในอุตสาหกรรมไอซีทีไทย ถือว่าไทยมีโอกาสค่อนข้างมาก แต่ยังติดปัญหาบางประการที่ต้องแก้ไขโดยด่วนคือ ปัญหาการจัดการองค์ความรู้ การผลิตเทคโนโลยี และกระบวนการทำงานที่ยังล่าช้ามาก


 



อ้างอิงจาก : ผู้จัดการออนไลน์

 

 

Copyright © 2000 - 2009 บริษัท เนทเวอร์คกิ้ง เทคโนโลยี (ไทยแลนด์) จำกัด All Rights Reserved.