Set as your home page  |  Bookmark                                                                                     Welcome to fristweb!   Join Now  |  Sign In  |  Build Site  |  Mail  |  Training

ไทย 简体中文 繁體中文 English 日本語 한국어 Tiếng Việt Deutsch Français Italiano Español Русско Portuguese
ที่บ้าน บริษัท ผลิตภัณฑ์ ข่าวสาร งาน และ อาชีพ คนหางาน คนขายของ ซื้อของ ตัวแทน ดำเนินการ การประสานงาน การฝึก

ผลวิจัยระบุ ทีวีมีผลต่อนักเรียน มากกว่าทำกิจกรรม

เวลา: 2007-06-11 มูลฐาน: www.bangkok-today.com

ผลวิจัยระบุ  ทีวีมีผลต่อนักเรียน    มากกว่าทำกิจกรรม


สำนักงานเลขาธิการสภาการศึกษาจัดสัมมนาเผยผลงานวิจัยเรื่อง “การศึกษาภาระงานผู้เรียนระดับการ
ศึกษาขั้นพื้นฐาน” โดย รศ.ดร.ศักดิ์ชัย นิรัญทวี อาจารย์คณะศึกษาศาสตร์ มหาวิทยาลัยศรีนครินทรวิโรฒ (มศว)
ผู้วิจัยเปิดเผยว่า จากแบบสอบถามในกลุ่มนักเรียนระดับการศึกษาขั้นพื้นฐาน 12,158 คน พบว่า ใน 1 สัปดาห์ใช้เวลา
ทำกิจกรรมในการเรียน เช่น ทำการบ้าน ทำรายงานหรือโครงงาน เตรียมตัวแข่งขันทางวิชาการ และเรียนพิเศษน้อยกว่า
ทำกิจกรรมเวลาว่าง ได้แก่ ดูโทรทัศน์ แสดงให้เห็นว่าโทรทัศน์มีบทบาทต่อนักเรียนค่อนข้างมาก รองลงมาคือ
อ่านหนังสือ ฟังวิทยุ เล่นกีฬา ทำงานบ้าน แต่เป็นที่น่าสังเกตว่า นักเรียนหญิงจะเล่นกีฬาน้อยกว่านักเรียนชาย
โดยในส่วนกิจกรรมการเรียน นักเรียนจะใช้เวลาส่วนใหญ่หมดไปกับการทำการบ้าน ทำรายงานและเรียนพิเศษ
แต่ไม่เป็นภาระที่หนักเกินไป อย่างไรก็ดี พบว่า นักเรียนหญิงโดยเฉพาะในช่วงอายุ 15-17 ปี เรียนชั้น ม.5-6
จะทำกิจกรรมการเรียนมากกว่านักเรียนชาย 􀀀รศ.ดร.ศักดิ์ชัย กล่าวอีกว่า ในแง่ระดับการศึกษาพบว่านักเรียนในโรงเรียน
ประถมศึกษานิยมไปเที่ยวมากกว่านักเรียนในระดับชั้นอื่น ส่วนนักเรียนโรงเรียนตำรวจตระเวนชายแดนจะใช้เวลา
ทำกิจกรรมอื่นๆ มากกว่าการเรียน สอดคล้องกับชีวิตในชนบทที่การศึกษาในห้องเรียนไม่เกี่ยวโยงกับชีวิตประจำวันและ
ครอบครัวมากนัก อีกทั้งชุมชนมีสิ่งน่าสนใจให้เล่นสนุกกว่าการเรียน ส่วนในแง่อายุนักเรียนอายุยิ่งน้อยจะให้เวลา
กับการเรียนมากกว่า เมื่อเด็กมีอายุมากขึ้นจะแบ่งเวลาให้กับกิจกรรมอื่น เช่น ทำงานบ้าน เล่นเกมคอมพิวเตอร์
คุยโทรศัพท์ 􀀀ผศ.ดร.เลขา ปิยะอัจฉริยะ ที่ปรึกษาสำนักงานเลขาธิการสภาการศึกษา (สกศ.) กล่าวว่า
การใช้เวลาของนักเรียนจะถูกบังคับโดยภาระการเรียนที่โรงเรียนและครูจัดสรรให้ ดังนั้น การคาดหวังให้นักเรียน
รู้จักบริหารจัดการเวลาของตัวเองจึงเกิดขึ้นไม่ได้ เพราะเด็กไม่ได้รับโอกาสที่จะเรียนรู้ ทั้งที่ความรับผิดชอบและ
การแบ่งเวลาเป็นทักษะอย่างหนึ่งที่จำเป็นในชีวิต ผู้บริหารสถานศึกษาและครูต้องเปลี่ยนวิธีคิด ให้ความสำคัญ
กับการปลูกฝังทักษะการบริหารเวลาของนักเรียน สอดแทรกสิ่งเหล่านี้ไว้ในชีวิตการเรียน และควรจัดกิจกรรมส่งเสริม
ให้นักเรียนหญิงออกกำลังกายมากขึ้น และที่ว่าเด็กใช้เวลาว่างดูโทรทัศน์ ก็ควรจัดรายการโทรทัศน์ดีๆ ที่สอดแทรก
ความรู้ ส่งเสริมการพัฒนาการศึกษามาเป็นสื่อประกอบการเรียนการสอน เพราะในเด็กวัยเรียนมักสนใจดูโทรทัศน์มากกว่า
ทำกิจกรรมอื่น แทนที่จะเปลี่ยนเด็ก ดึงเด็กออกห่างโทรทัศน์ ก็นำสิ่งที่เด็กสนใจมาใช้ให้เกิดประโยชน์น่าจะดีกว่า ■

www.bangkok-today.com

Friday, 08 Jun 2007

 

 

Copyright © 2000 - 2009 บริษัท เนทเวอร์คกิ้ง เทคโนโลยี (ไทยแลนด์) จำกัด All Rights Reserved.