Set as your home page  |  Bookmark                                                                                     Welcome to fristweb!   Join Now  |  Sign In  |  Build Site  |  Mail  |  Training

ไทย 简体中文 繁體中文 English 日本語 한국어 Tiếng Việt Deutsch Français Italiano Español Русско Portuguese
ที่บ้าน บริษัท ผลิตภัณฑ์ ข่าวสาร งาน และ อาชีพ คนหางาน คนขายของ ซื้อของ ตัวแทน ดำเนินการ การประสานงาน การฝึก

คนไทยตกยุคสังคมไอที หากไม่รีบพัฒนาอีก 15 ปีเวียดนามแซงแน่

เวลา: 2007-06-12 มูลฐาน: ผู้จัดการออนไลน์

คนไทยตกยุคสังคมไอที หากไม่รีบพัฒนาอีก 15 ปีเวียดนามแซงแน่

เทคโนโลยีสารสนเทศและการสื่อสาร กำลังมีผลต่อการพัฒนาทั่วโลก

(ภาพจาก www.annenberg.edu)


        นักเศรษฐศาสตร์ระดับโลกเผยรายงานการพัฒนาไอซีทีของไทยอยู่ในอันดับที่ 37 ของโลก แจงโครงสร้างพื้นฐานและภาคประชาชนยังไม่พร้อมกับสังคมไอที ด้าน ผอ.ซอฟต์แวร์ปาร์ค แนะต้องเปลี่ยนทัศนคติให้ผู้นำหันมาใส่ใจไอซีทีมากขึ้น พร้อมเร่งรัดพัฒนาคน ดึงเทคโนโลยีและบุคลากรต่างชาติช่วย หากไทยไม่เร่งพัฒนาอีก 15 ปีรับรอง โดน "เวียด" แซงแน่
      
       บ.ไมโครซอฟต์ (ประเทศไทย) จำกัด ร่วมกับกรมทรัพย์สินทางปัญญา และสำนักงานนวัตกรรมแห่งชาติ (สนช.) จัดงานประชุมนวัตกรรมสำหรับประเทศไทย (Innovation Forum Thailand 2007) ขึ้นเมื่อวันที่ 7 มิ.ย. ณ โรงแรมคอนราด กรุงเทพฯ มีนักวิชาการและนักธุรกิจร่วมงานราว 100 คน
      
       นางเจนนิเฟอร์ แบลงกี (Jennifer Blanke) นักเศรษฐศาสตร์อาวุโส และหัวหน้าโครงการเสริมสร้างขีดความสามารถทั่วโลก เวทีการประชุมเศรษฐกิจโลก (World Economic Forum: WEF) กล่าวว่า จากรายงาน สังคมยุคใหม่ที่มีศักยภาพแข่งขันในเวทีโลกได้จะต้องเป็นสังคมที่มีนวัตกรรมและความชำนาญเป็นตัวขับเคลื่อน ซึ่งเทคโนโลยีสารสนเทศและการสื่อสาร (ไอซีที) จะมีความเกี่ยวพันกับการพัฒนาประเทศมาก โดยการสำรวจ 122 ประเทศทั่วโลก ประเทศที่มีศักยภาพทางไอซีทีมากที่สุด 5 อันดับแรกคือ เดนมาร์ก สวีเดน สิงคโปร์ ฟินแลนด์ และสวิตเซอร์แลนด์ ส่วนไทยอยู่ในอันดับที่ 37 ตามหลังประเทศร่วมภูมิภาคอย่างฮ่องกง ไต้หวัน จีน ญี่ปุ่น และมาเลเซีย
      
       อย่างไรก็ดี นางแบลงกี เผยว่า ประเทศไทยก็เป็นประเทศที่มีจุดแข็งด้านไอซีทีพอสมควร โดยมีนโยบายภาครัฐที่ดีเป็นอันดับที่ 10 ของ 122 ประเทศ ภาคธุรกิจมีความพร้อมด้านไอซีทีสูง และประเทศไทยมีอันดับความแข็งแรงด้านนวัตกรรมที่ดีพอใช้ในอันดับที่ 33 จากทั้งหมด แต่ยังมีจุดอ่อนคือ ผู้ใช้งานรายบุคคลที่ยังเข้าไม่ถึงเทคโนโลยีไอซีทีนัก และโครงสร้างพื้นฐานยังไม่เข็มแข็งเพียงพอ เช่น กฎหมาย และการตลาด
      
       ด้าน ดร.รอม หิรัญพฤกษ์ ผอ.เขตอุตสาหกรรมซอฟต์แวร์ประเทศไทย (ซอฟต์แวร์ปาร์ก) และรอง ผอ.ศูนย์บริหารจัดการเทคโนโลยี (ทีเอ็มซี) กระทรวงวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี (วท.) เผยว่า ประเทศไทยยังต้องเร่งรัดการพัฒนาไอซีทีมาก เพราะปัจจุบันเรายังขาดความพร้อมหลายอย่าง เช่น กฎหมายที่ล่าช้า แต่จุดที่ต้องเร่งแก้ไขเป็นอันดับแรกคือการเปลี่ยนทัศนคติของผู้นำประเทศและสังคมให้เห็นความสำคัญของไอซีทีมากขึ้น ซึ่งหากปรับทัศนคติได้ก็จะเป็นจุดที่ชักนำให้เกิดความสำเร็จติดตามมา
      
       ดร.รอม กล่าวด้วยว่า สำหรับประเทศไทยจำเป็นต้องมีการพัฒนาวงการไอซีทีเช่นซอฟต์แวร์และผลิตกำลังคนมากขึ้น ควบคู่ไปกับการนำเข้านวัตกรรมไอซีทีใหม่ๆ ที่ยังไม่มีในประเทศมาใช้ก่อน เช่น การนำระบบอี-บุ๊คกิ้ง มาใช้กับการจองห้องพักและโต๊ะอาหารในภาคการบริการอย่างแพร่หลาย ซึ่งเป็นส่วนที่สร้างมูลค่าเพิ่มได้มหาศาลแม้จะต้องนำเข้าวิทยาการมาใช้ก่อนในเบื้องต้น แต่จากบทเรียนที่ผ่านมาก็เชื่อได้ว่าคนไทยจะสามารถเรียนรู้และพัฒนาเทคโนโลยีของตัวเองตามมาได้ โดยเป็นแนวการพัฒนาที่หลายประเทศใช้แล้ว ไม่เว้นแม้แต่ศรีลังกา กัมพูชา และลาว ซึ่งอีกกลไกหนึ่งคือการวางกลไกเพื่อดึงดูดผู้เชี่ยวชาญต่างชาติให้มาทำงานกับคนไทยมากขึ้นเช่นตัวอย่างของสิงคโปร์ เพื่อเป็นทางลัดการพัฒนาวงการไอซีทีไทย ซึ่งอาจเป็นการลงทุนสูงในระยะสั้นแต่ก็จะมีผลดีมหาศาลและยาวนานถึงลูกหลานในอนาคต
      
       ส่วนนายบ็อบ เฮย์วาร์ด (Bob Hayward) ที่ปรึกษาผู้จัดการ บ.สตราท –อีเทค บางกอก (Strat –etech Bangkok) และอดีตรองประธานอาวุโสและผู้เชี่ยวชาญด้านการวิจัย บ.การ์ทเนอร์ เอเชีย-แปซิกฟิกแอนด์เจแปน (Gartner Asia Pacific & Japan) กล่าวว่า ประเทศไทยจำเป็นต้องเริ่มการพัฒนาไอซีทีของประเทศโดยเร็ว เพื่อเพิ่มขีดความสามารถทางการแข่งขันให้กับประเทศได้ เพราะที่ผ่านมาการพัฒนาด้านนี้ของไทยยังล่าช้าเกินไป หากเปรียบเทียบกับเวียดนามซึ่งเป็นเพื่อนบ้านไทยแล้ว แม้แต่ค่าบริการและการเข้าถึงอินเทอร์เน็ตของเวียดนามก็ยังดีกว่าประเทศไทย โดยหากไม่มีการเร่งรัดพัฒนา อีกไม่เกิน 15 ปี เวียดนามก็จะแซงไทย


 



อ้างอิงจาก : ผู้จัดการออนไลน์

 

 

Copyright © 2000 - 2009 บริษัท เนทเวอร์คกิ้ง เทคโนโลยี (ไทยแลนด์) จำกัด All Rights Reserved.