Set as your home page  |  Bookmark                                                                                     Welcome to fristweb!   Join Now  |  Sign In  |  Build Site  |  Mail  |  Training

ไทย 简体中文 繁體中文 English 日本語 한국어 Tiếng Việt Deutsch Français Italiano Español Русско Portuguese
ที่บ้าน บริษัท ผลิตภัณฑ์ ข่าวสาร งาน และ อาชีพ คนหางาน คนขายของ ซื้อของ ตัวแทน ดำเนินการ การประสานงาน การฝึก

เอ็มไอทีโชว์ความสำเร็จ"ชาร์จไฟไร้สาย"

เวลา: 2007-06-12 มูลฐาน: ผู้จัดการออนไลน์

เอ็มไอทีโชว์ความสำเร็จ"ชาร์จไฟไร้สาย"

        นักวิจัยจากสถาบันเอ็มไอที (Massachusetts Institute of Technology) หาวิธีชาร์จไฟให้แบตเตอรี่ในคอมพิวเตอร์โน้ตบุ๊ก หรือโทรศัพท์มือถือได้ผ่านอากาศเป็นผลสำเร็จแล้ว โดยเชื่อว่าเทคโนโลยีดังกล่าวจะช่วยลดการใช้สายไฟที่สร้างความยุ่งยาก หรือทำให้เกิดภาพที่ไม่เป็นระเบียบในห้องทำงานลงได้อย่างมีประสิทธิภาพ
      
       "การคิดค้นครั้งนี้จะช่วยเปลี่ยนเราจากความเคยชินในอดีตที่เคยชาร์จแบตเตอรี่ผ่านสายไฟ หรืออย่างน้อยที่สุดมันก็น่าจะช่วยให้การติดตั้งระบบการทำงานภายในบ้าน หรือสำนักงานทำได้ง่ายขึ้น" อาริสเทดิส การาลิส นักศึกษาคนหนึ่งในทีมผู้พัฒนาเปิดเผย
      
       โดยทีมงานผู้พัฒนาได้สาธิตเทคโนโลยี "WiTricity" ที่สามารถส่งคลื่นพลังงานผ่านอากาศเป็นระยะทาง 7 ฟุต และไปทำให้หลอดไฟขนาด 60 วัตต์ที่อยู่ไกลออกไปสามารถส่องสว่างได้ เทคโนโลยีดังกล่าวอิงพื้นฐานของหลักการสะท้อน โดยวัตถุที่รับคลื่นพลังงานไปจะเกิดการสั่น เมื่อวัตถุสองตัวมีคลื่นในการสะท้อนตรงกันก็จะสามารถส่งผ่านพลังงานถึงกันได้
      
       "พลังงานจำนวนนี้มากพอสำหรับการใช้งานในแลปท็อปทั่ว ๆ ไปแล้ว" มาริน โซลจาซิก อาจารย์สาขาฟิสิกส์ของสถาบันเอ็มไอทีกล่าว ซึ่งเขาเรียกการทดลองในครั้งนี้ว่าเป็นย่างก้าวที่สำคัญสำหรับวงการไอทีเลยทีเดียว
      
       รายชื่อของนักศึกษา 6 คนผู้ร่วมพัฒนา ได้แก่ (แถวแรกของภาพ) Peter Fisher และ Robert Moffatt (แถวที่สอง) Marin Soljacic (แถวที่สาม) จากซ้ายไปขวา Andre Kurs, John Joannopoulos และ Aristeidis Karalis
      
       ข้อจำกัดของเทคโนโลยีการชาร์จไฟแบบไร้สายนี้อาจอยู่ที่ระยะทาง ซึ่งควรอยู่ในระยะห่างประมาณ 2 - 3 เมตร และจะได้ผลดีหากอยู่ในห้องเดียวกัน ไม่มีกำแพงมาขวางกั้น
      
       ผลสำเร็จของการพัฒนาในครั้งนี้ทำให้ทีมงานผู้พัฒนาเทคโนโลยีดังกล่าวกลายเป็นคนเนื้อหอมไปโดยปริยาย โดยมีบริษัทผู้ผลิตสินค้าอิเล็กทรอนิกส์สำหรับคอนซูเมอร์หลายรายแสดงความสนใจและเสนอให้ทีมงานทั้ง 6 คนพัฒนาโปรเจ็คดังกล่าวให้เหมาะสำหรับการใช้งานในเชิงพาณิชย์แล้ว

   Company Related Links :
       MIT



อ้างอิงจาก : ผู้จัดการออนไลน์

 

 

Copyright © 2000 - 2009 บริษัท เนทเวอร์คกิ้ง เทคโนโลยี (ไทยแลนด์) จำกัด All Rights Reserved.