พื้นที่สมาชิก
ชื่อสมาชิก:  
รหัสลับ:  
ลืม รหัสลับ
รายการวันนี้

เกี่ยวกับโครงการ

เทคโนโลยีชีภาพ

เทคโนโลยีชีวภาพ

 ก๊าซชีวภาพ คืออะไร >> ก๊าซชีวภาพ คือ

 

ก๊าซชีวภาพ คืออะไร ?

ก๊าซชีวภาพ (Biogas) คือ ผลิตภัณฑ์ที่เกิดขึ้นตามธรรมชาติจากกระบวนการย่อยสลายสารอินทรีย์ด้วยวิธีทางชีววิทยา (Biological Treatment) ในสภาวะที่ไร้อากาศ (Anaerobic Digestion)ก๊าซชีวภาพมีก๊าซมีเทน (CH4) และก๊าซคาร์บอนไดออกไซด์ (CO2) เป็นองค์ประกอบหลัก ส่วนก๊าซอื่นๆ เช่น ก๊าซไฮโดรเจนซัลไฟด์ (H2S) ก๊าซแอมโมเนีย และก๊าซไฮโดรเจน จะมีปริมาณเล็กน้อย เนื่องจากก๊าซมีเทนเป็นก๊าซที่ให้ค่าพลังงานความร้อนสูง โดยสามารถให้พลังงานความร้อนได้สูงถึงประมาณ 9,000 กิโลแคลอรี/ลบ.ม. และโดยปกติก๊าซชีวภาพจะมีก๊าซมีเทนอยู่มากกว่า 60% จึงสามารถนำก๊าซชีวภาพไปใช้ประโยชน์ในรูปของพลังงานได้ เช่น เผาเพื่อใช้ประโยชน์จากความร้อนโดยตรง ใช้เป็นเชื้อเพลิงสำหรับขับเคลื่อนปั๊มน้ำหรือเครื่องยนต์ หรือเป็นเชื้อเพลิงในการผลิตกระแสไฟฟ้า เป็นต้น

โดยทั่วไปก๊าซชีวภาพจะประกอบไปด้วยก๊าซหลายชนิด ส่วนใหญ่เป็น 
• ก๊าซมีเทน (CH4) ประมาณ 50-70%
• ก๊าซคาร์บอนไดออกไซด์ (CO2) ประมาณ 30-50%
• ส่วนที่เหลือเป็นก๊าซอื่นๆ เช่น แอมโมเนีย (NH3) ไฮโดรเจนซัลไฟด์ (H2S) และไอน้ำ (H2O) เป็นต้น บางครั้งอาจพบปริมาณก๊าซ H2S สูงถึง 1% (10,000 ppm, part per million) ในกรณีที่น้ำเสียนั้นมีองค์ประกอบของสารซัลเฟต (SO4) สูง

คุณสมบัติก๊าซชีวภาพ

ในการนำก๊าซชีวภาพมาใช้ประโยชน์ด้านพลังงาน ค่าพลังงานที่ได้จากก๊าซชีวภาพจะขึ้นกับสัดส่วน (%) ของก๊าซมีเทนที่มีอยู่ในเนื้อก๊าซชีวภาพ ซึ่งมีคุณสมบัติทั่วไป ดังนี้

 คุณสมบัติก๊าซชีวภาพ

 ค่า

 ค่าความร้อน (Heating Value)

 21.5 MJ/m3

(อ้างอิงที่ CH4 60%)

 ความเร็วเปลวไฟ  25 cm/s
 อัตราส่วนอากาศต่อเชื้อเพลิงในการเผาไหม้ทางทฤษฎี (A/F)  6.19 m3-air/m3-gas
 อุณหภูมิเผาไหม้ในอากาศ  650 deg C
 อุณหภูมิจุดติดไฟของ CH4  600 deg C
 ค่าความจุความร้อน (Cp)  1.6 kJ/m3-deg C
 ความหนาแน่น  1.15 kg/m3

 โดยศักยภาพในการผลิตก๊าซชีวภาพของน้ำเสียจากแหล่งต่างๆ จะแตกต่างกันไปตามลักษณะของสารอินทรีย์ที่มีอยู่ในน้ำเสียแต่ละชนิด ซึ่งประมาณได้ดังนี้

 แหล่งของน้ำเสีย  ปริมาณน้ำเสีย (ลบ.ม.)  ความสามารถผลิตก๊าซชีวภาพ (ลบ.ม.)
 ฟาร์มสุกร  1  3.5
 โรงฆ่าสัตว์  1  0.7
 โรงงานแป้งข้าวเจ้า  1  2.4
 โรงงานแป้งมันสำปะหลัง  1  7
 โรงงานสกัดน้ำมันปาล์มดิบ  1  15

 ก่อนนำก๊าซชีวภาพไปใช้งาน ต้องทำอะไรก่อนหรือไม่

การปรับปรุงคุณภาพก๊าซชีวภาพ (Gas Purification) ก่อนการนำไปใช้งานมีข้อที่จอรจะพิจารณาดังนี้
2.1 การดักน้ำในท่อส่งก๊าซชีวภาพ
ปกติแล้วก๊าซชีวภาพที่ผลิตได้มักจะมีความชื้นสูงเกือบถึงจุดอ่มตัว เมื่อก๊าซชีวภาพไหลผ่านท่อส่งก๊าซที่ฝังอยู่ในดินที่มีอุณหภูมิต่ำมักจะทำให้ความชื้น(ไอน้ำ) ในก๊าซชีวภาพกลั่นตัวเป็นหยดน้ำและสะสมจนเกิดเป็นอุปสรรคในการส่งก๊าซไปตามท่อได้ ดังนั้นต้องมีการติดตั้งชุดดักน้ำก่อนนำก๊าซชีวภาพไปใช้งาน
2.2 ปรับลดปริมาณก๊าซคาร์บอนไดออกไซด์ (CO2)
การปรับลดปริมาณก๊าซคาร์บอนไดออกไซด์ (CO2) จากก๊าซชีวภาพนี้จะปฏิบัติก็ต่อเมื่อมีความจำเป็น เช่น ในกรณีที่ก๊าซชีวภาพที่ได้มีสัดส่วนของก๊าซมีเทน (CH4) ต่ำมากจนอยู่ในระดับที่จุดไฟติดยาก คือประมาณเปอร์เซ็นต์ CH4 น้อยกว่า 45 เปอร์เซ็นต์ แต่ในระบบผลิตก๊าซชีวภาพสำหรับฟาร์มสุกรนั้นไม่มีปัญหาในเรื่องนี้ ดังนั้นการลดปริมาณก๊าซคาร์บอนไดออกไซด์ (CO2) จึงไม่จำเป็น
2.3 การปรับลดก๊าซไฮโดรเจนซัลไฟด์ (H2S)
การปรับลดก๊าซไฮโดรเจนซัลไฟด์ (H2S) ที่ปนเปื้อนในก๊าซชีวภาพนั้นมีคุณสมบัติเป็นก๊าซพิษและเมื่อสัมผัสกับน้ำหรือไอน้ำจะเปลี่ยนสภาพเป็นกรดซัลฟูริค (H2SO4) ซึ่งเป็นสาเหตุของฝนกรดหรือไอกรดที่สามารถกัดกร่อนโลหะและวัสดุอุปกรณ์ได้ ดังนั้นการลดปริมาณก๊าซไฮโดรเจนซัลไฟด์ (H2S) ในก๊าซชีวภาพก่อนการนำไปใช้ประโยชน์นั้นจะเป็นผลดีต่อสิ่งแวดล้อมโดยทั่วไปและจะช่วยยืดอายุการใช้งานของอุปกรณ์ใช้ก๊าซด้วย