พื้นที่สมาชิก
ชื่อสมาชิก:  
รหัสลับ:  
ลืม รหัสลับ
รายการวันนี้

เกี่ยวกับโครงการ

เทคโนโลยีชีภาพ

แปรรูปฟางข้าวเหลือทิ้งเป็นไบโอแก๊ส
 

จีนเป็นประเทศที่ผลิตข้าวอันดับหนึ่งของโลกการทำนาแต่ละรอบได้ฟางข้าวเป็นผลพลอยได้ราว 230 ล้านตัน
อย่างไรก็ตาม นักวิทยาศาสตร์จีนกล่าวว่า ที่ผ่านมายังไม่มีใครคิดนำฟางข้าวมาทำไบโอแก๊ส เนื่องจากแบคทีเรียย่อยสลายกลูโคสจากฟางได้ยาก เพราะฟางเป็นชีวมวลที่มีโครงสร้างทางเคมีและกายภาพที่ซับซ้อน
นักวิจัยจีนจึงลองนำฟางข้าวมาย่อยด้วยโซเดียมไฮดรอกไซด์ในสภาพของแข็งก่อนนำแบคทีเรียมาหมักทำไบโอแก๊สย กระบวนการเตรียมดังกล่าวช่วยเพิ่มการผลิตไบโอแก๊ส ทำให้ได้เซลลูโลสและองค์ประกอบอื่นที่อยู่ในฟางมากขึ้นจากการย่อยของแบคทีเรียย ปัจจุบันทีมวิจัยได้สร้างโรงงานเพื่อนำฟางมาผ่านกระบวนการทำไบโอแก๊สแล้ว 3แห่งในจีนรายละเอียดของงานวิจัยจะถูกตีพิมพ์ลงในวารสารเอ็นเนอจีแอนด์ ฟิวเอล ฉบับวันที่ 16 กรกฎาคมนี้ ซึ่งจะอธิบายถึงกรรมวิธีเพิ่มผลผลิตไบโอแก๊สจากฟางข้าวได้มากขึ้น 65%

ทีมงานใช้เครื่องมือหลายชนิดตรวจสอบการเปลี่ยนแปลงโครงสร้างทางเคมีและลักษณะทางกายภาพของเฮมิกลูโคสเซลลูโลส และลิกนิน ซึ่งเป็นสารประกอบเคมีเชิงซ้อนที่ได้จากไม้ และเป็นส่วนหนึ่งของผนังเซลล์ของพืช

ผลตรวจสอบพบว่าฟางข้าวที่เติมโซเดียมไฮดรอกไซด์ย 6% ช่วยให้ได้ผลผลิตไบโอแก๊สเพิ่ม 27.3-64.5% ไบโอแก๊สที่เพิ่มขึ้นเป็นเพราะกระบวนการเติมสารโซเดียมไฮดรอกไซด์ช่วยย่อยสลายทางชีวภาพ โดยเซลลูโลสเสื่อมสภาพลง16.4% เซลลูโลส 36.8% และลิกนิน 28.4% ขณะที่ได้สารละลายในน้ำเพิ่มขึ้น 122.5%

การเติมโซเดียมไฮดรอกไซด์ทำให้พันธะทางเคมีระหว่างลิกนินเซลลูโลส และเฮมิเซลลูโลสแยกจากกัน และเสื่อมสภาพ ส่งผลให้เกิดการเปลี่ยนแปลงทางเคมี เห็นได้จากลิกนิกสภาพดั้งเดิมมีน้ำหนักโมเลกุลใหญ่ และมีโครงสร้างสามมิติ แต่หลังจากเติมโซเดียมไฮดรอกไซด์ลงไป ทำให้โมเลกุลมีขนาดเล็กลง ขณะที่โครงสร้างผลึกของเซลลูโลสเพิ่มขึ้น แม้สังเกตเห็นไม่ชัดนักก็ตาม การเปลี่ยนแปลงองค์ประกอบทางเคมี โครงสร้างทางเคมี และลักษณะทางกายภาพของฟางข้าวทำให้เกิดการเสื่อมสภาพมากขึ้น และเป็นกระบวนการที่ทำให้ได้ไบโอแก๊สเพิ่มขึ้น นักวิจัยกล่าว