พื้นที่สมาชิก
ชื่อสมาชิก:  
รหัสลับ:  
ลืม รหัสลับ
รายการวันนี้

เกี่ยวกับโครงการ

เทคโนโลยีชีภาพ

เทคโนโลยีชีวภาพ

 เทคโนโลยีชีวภาพ >> ประโยชน์ของระบบผลิตก๊าซชีวภาพต่อสิ่งแวดล้อม

 

 ประโยชน์ของระบบผลิตก๊าซชีวภาพต่อสิ่งแวดล้อม


นอกเหนือจากประโยชน์ด้านพลังงานที่ได้รับจากก๊าซชีวภาพ ระบบผลิตก๊าซชีวภาพยังมีผลพลอยได้อื่นๆ อีกมากมาย
ได้แก่การช่วยลดการเน่าเสียของแหล่งน้ำธรรมชาติลดปัญหากลิ่นเหม็นหรือแมลงวันซึ่งปัจจัยเหล่านี้ช่วยส่งผลให้ผู้ประกอบการต่างๆสามารถอยู่ร่วมกับชุมชนได้อย่างราบรื่นอีกทั้งผู้ประกอบการยังได้รับประโยชน์เพิ่มเติมในรูปของการลดค่าใช้จ่ายในการบำบัดน้ำเสียลดพื้นบ่อเปิดลดการใช้พลังงานในระบบเติมอากาศเป็นต้นรวมถึงได้ประโยชน์ในรูปปุ๋ยอินทรีย์และช่วยลดการปลดปล่อยก๊าซมีเทนซึ่งเป็นก๊าซเรือนกระจกสู่บรรยากาศ

ปัจจุบันมีการให้ความสนใจปัญหาสภาวะโลกร้อนหรือปรากฎการณ์สภาวะเรือนกระจกมากขึ้น ซึ่งสาเหตุหลักเกิดจากการปลดปล่อยก๊าซเรือนกระจกจากกิจกรรมต่างๆ ของมนุษย์ ซึ่งได้แก่

- คาร์บอนไดออกไซด์ (CO2) จากการเผาไหม้ของเชื้อเพลิง
- มีเทน (CH4) จากการย่อยสลายของสารอินทรีย์ น้ำเสีย ของเสียปศุสัตว์

 

 ขยะมูลฝอย
- ไนตรัสออกไซด์ (N2O)
- คลอโรฟลูออโรคาร์บอนหรือ CFC จาก โฟม พลาสติก สารทำความเย็น


ในปัจจุบันได้มีการจัดตั้งโครงการกลไกการพัฒนาที่สะอาด
(Clean Development Mechanism, CDM) โดยเป็นกระบวนการที่ช่วยควบคุมปริมาณ
การปล่อยก๊าซเรือนกระจกโดยรวมในโลกให้มีค่าที่คงที่ ไม่เพิ่มสูงจากในปัจจุบัน ด้วยการกำหนดปริมาณก๊าซเรือนกระจกที่แต่ละประเทศสามารถปล่อยสู่บรรยากาศ ทำให้ประเทศในกลุ่ม Annex-I ซึ่งเป็นกลุ่มประเทศที่พัฒนาแล้วหรือกลุ่มประเทศอุตสาหกรรมต้องดำเนินการที่จะช่วยลดการปล่อยก๊าซเรือนกระจกแก่ประเทศในกลุ่ม Non Annex-I ด้วยการสนับสนุนและร่วมมือกับประเทศในกลุ่ม Non Annex-I ในการพัฒนาเพื่อให้ประเทศที่อยู่ในกลุ่ม Non Annex-I มีปริมาณการปล่อยก๊าซเรือนกระจกที่ลดลง โดยประเทศในกลุ่ม Annex-I ที่เข้ามาดำเนินการตามโครงการ CDM สามารถนำปริมาณก๊าซเรือนกระจกที่ลดลงไปใช้เป็นส่วนหนึ่งของพันธะกรณีที่จะต้องลดปริมาณก๊าซเรือนกระจกของประเทศตน ซึ่งหมายความว่าจะทำให้ประเทศที่ให้ความช่วยเหลือสามารถปล่อยก๊าซเรือนกระจกได้เพิ่มขึ้น ตามปริมาณของก๊าซเรือนกระจกที่ลดลงจากการปล่อยโดยประเทศในกลุ่ม Non Annex-I ซึ่งเหมือนกับเป็นการให้การซื้อขายสิทธิในการปล่อยก๊าซเรือนกระจก โดยการให้เงินทุนสนับสนุนการพัฒนาแก่ประเทศอื่น เพื่อให้ประเทศของตนสามารถปล่อยก๊าซเรือนกระจกได้สูงขึ้น


ก๊าซมีเทน ซึ่งปกติก๊าซทั้งสองชนิดสามารถเกิดได้เองในธรรมชาติ ดังนั้นการสร้างระบบผลิตก๊าซชีวภาพซึ่งเป็นระบบปิดจึงเป็นการช่วยควบคุมการเกิด และการแพร่กระจายของก๊าซมีเทนและก๊าซคาร์บอนไดออกไซด์ออกสู่ชั้นบรรยากาศ เปรียบเทียบระดับความรุนแรงของการก่อให้เกิดสภาวะเรือนกระจก โดยความรุนแรงของศักยภาพในการเป็นก๊าซเรือนกระจกของก๊าซมีเทนจะสูงกว่าก๊าซคาร์บอนไดออกไซด์ถึง 21 เท่า ดังนั้นการเผาทำลายก๊าซมีเทนซึ่งเป็นองค์ประกอบหลักของก๊าซชีวภาพหรือการนำก๊าซชีวภาพมาใช้ประโยชน์จึงนับว่าเป็นกิจกรรมที่ช่วยลดการปลดปล่อยก๊าซเรือนกระจกออกสู่บรรยากา