พื้นที่สมาชิก
ชื่อสมาชิก:  
รหัสลับ:  
ลืม รหัสลับ
รายการวันนี้

เกี่ยวกับโครงการ

เทคโนโลยีชีภาพ

เทคโนโลยีชีวภาพ

 เทคโนโลยีชีวภาพ >> กลไกพัฒนาที่สะอาด (CDM)

 

กลไกพัฒนาที่สะอาด (CDM)


การเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศและกลไกพัฒนาที่สะอาด (CDM) ระบบถังกวนสมบูรณ์เเบบไม่ใช้อากาศ (Continuous Stirred Tank Reactor) เป็นการเรียกตามลักษณะของสสารที่อยู่ภายในถังซึ่งมีความเข้มข้นของสารละลายเท่ากันทุกจุด (Completely mixed) ถังปฏิกรณ์เเบบนี้ถือเป็นถังปฏิกรณ์อุดมคติ (Ideal Reactor) เเบบหนึ่งเเละเป็นระบบบำบัดน้ำเสียเเบบไม่ใช้อากาศที่เก่าเเก่ที่สุดประเภทหนึ่งด้วย โดยถังกวนสมบูรณ์นี้ถูกพัฒนาขึ้นมาจากถังย่อยสลัดจ์ซึ่งเป็น Conventional Anaerobic Digester ที่มีประสิทธิภาพต่ำ เนื่องจากการกวนผสมไม่ดี ทำให้ระยะเวลาย่อยสลายยาวนาน จึงได้มีการพัฒนาเพื่อเพิ่มประสิทธิภาพการสัมผัสกันของสารอาหารในน้ำเสียเเละจากถังย่อยสลัดจ

 

(Septic Tank) โดยมีการติดตั้งใบกวน เช่น เเบบ Paddle แบบสกรู (Screw) หรือ ใช้ Gas Diffuser ในการกวนผสม เพื่อให้จุลินทรีย์เเละสารอาหารในถังปฏิกรณ์มีการสัมพันธ์กันมากขึ้นซึ่งจะทำให้ประสิทธิภาพในการย่อยสลายสารอินทรีย์ในน้ำเสียดีขึ้น
การดำเนินโครงการตามกลไกการพัฒนาที่สะอาด (Clean Development Mechanism : CDM)

พิธีสารเกียวโตได้จำกัดการปล่อยก๊าซเรือนกระจกของประเทศอุตสาหกรรม หรือที่เรียกว่าประเทศในกลุ่มภาคผนวกที่ 1 (Annex ICountries) ให้อยู่ในระดับที่ต่ำกว่าปริมาณการปล่อยก๊าซเรือนกระจกในปีพ.ศ. 2533 ประมาณร้อยละ 5 โดยจะต้องดำเนินการให้ได้ภายในช่วงปีพ.ศ. 2550-2555 (ค.ศ. 2008-2012)

ประเทศไทยซึ่งเป็นประเทศกำลังพัฒนา หรือกลุ่มนอกภาคผนวกที่ 1 (non-Annex I Countries) ไม่ได้ถูกจำกัดการปล่อยก๊าซเรือนกระจกภายใต้พิธีสารเกียวโตภายในระยะเวลาและ ปริมาณที่กำหนดไว้ แต่สามารถร่วมดำเนินโครงการในการลดการปล่อยก๊าซเรือนกระจกได้โดยสมัครใจตาม แต่ศักยภาพของประเทศ

โครงการที่เกิดขึ้นในประเทศกำลังพัฒนา และสามารถพิสูจน์ได้ว่าลดก๊าซเรือนกระจกได้จริง จะได้รับเครดิตที่เรียกว่า Certified Emission Reductions (CERs) จากการดำเนินงานตามกลไกการพัฒนาที่สะอาด (Clean Development Mechanism: CDM)

คาร์บอนเครดิต หรือ CERs นี้ สามารถนำไปหักลบปริมาณการปล่อยก๊าซเรือนกระจกในประเทศกลุ่มภาคผนวกที่ 1 ได้ ประเทศเหล่านี้จึงมีความต้องการซื้อ CERs เพื่อให้ประเทศของตนสามารถบรรลุพันธกรณีในการลดปริมาณการปล่อยก๊าซเรือน กระจกได้ และประเทศกำลังพัฒนายังสามารถบรรลุถึงเป้าหมายของการพัฒนาอย่างยั่งยืนได้ อีกด้วย 

ก๊าซเรือนกระจกที่ครอบคลุมโดยพิธีสารเกียวโต ประกอบด้วยก๊าซ 6 ชนิด โดยแต่ละชนิดมีค่าศักยภาพในการทำให้โลกร้อน (Global Warming Potential: GWP) แตกต่างกัน เช่น หากลดการปล่อยก๊าซมีเทนได้ 1 ตัน จะเทียบเท่าการลดก๊าซคาร์บอนไดออกไซด์ได้ 21 ตัน ดังแสดงใน ตารางที่ 1

ตารางที่ 1 ก๊าซเรือนกระจกที่ถูกควบคุมภายใต้พิธีสารเกียวโตและค่าศักยภาพการทำให้โลกร้อน
ที่มา : Climate Change 1995, IPCC Second Assessment Report

 ศักยภาพในการทำให้โลกร้อน

 (เท่าของคาร์บอนไดออกไซด์)

 1. คาร์บอนไดออกไซด์ (CO2)

 1

 2. มีเทน (CH4)

 21

 3. ไนตรัสออกไซด์ (N2O)

 310

 4. ไฮโดรฟลูออโรคาร์บอน (HFCs)

 140 - 11,700

 5. เปอร์ฟลูออโรคาร์บอน (PFCs)

 6,500 - 9,200

 6. ซัลเฟอร์เฮกซาฟลูโอไรด์ (SF6)

 23,900

โครงการที่จะได้รับการขึ้นทะเบียนเป็นโครงการ CDM จะต้องแสดงให้เห็นว่าสามารถนำไปสู่การลดก๊าซเรือนกระจกได้จริง นั่นคือปริมาณการปล่อยก๊าซเรือนกระจกที่เป็นผลจากการดำเนินโครงการ(Project Emission) นั้นน้อยกว่าปริมาณการปล่อยก๊าซเรือนกระจกในกรณีที่ไม่มีโครงการ (Baseline Emission)

ตัวอย่างโครงการ CDM ได้แก่

โครงการผลิตไฟฟ้าพลังงานหมุนเวียน เช่น พลังงานน้ำ ลม แสงอาทิตย์ หรือชีวมวล สามารถลดการปล่อยก๊าซเรือนกระจกได้เนื่องจากสามารถลดการผลิตไฟฟ้าจากแหล่ง อื่นที่ใช้เชื้อเพลิงฟอสซิลได้

โครงการการปรับปรุงกระบวนการบำบัดน้ำเสียหรือบ่อขยะ เพื่อให้สามารถกักเก็บและทำลายก๊าซมีเทน สามารถลดการปลดปล่อยก๊าซเรือนกระจกจากระบบเดิมที่เป็นบ่อผึ่งหรือกองขยะที่ มีการปลดปล่อย ก๊าซมีเทนขึ้นสู่บรรยากาศโดยตรง เมื่อมีการดำเนินโครงการ CDM ก็จะมีการกักเก็บก๊าซมีเทนและนำไปผลิตกระแสไฟฟ้า

การดำเนินงานในประเทศไทย

ประเภทของโครงการ
โครงการที่เข้าข่ายเป็นโครงการ CDM ในประเทศไทย ได้แก่ โครงการด้านพลังงาน เช่น โครงการพลังงานทดแทนการใช้น้ำมันเชื้อเพลิง การแปลงกากของเสียอุตสาหกรรมเป็นพลังงาน พลังงานหมุนเวียน การปรับปรุง/เพิ่มประสิทธิภาพในการใช้พลังงาน โครงการด้านการจัดการสิ่งแวดล้อม เช่น โครงการแปลงขยะชุมชนเป็นพลังงาน โครงการแปลงน้ำเสียชุมชนเป็นพลังงาน โครงการด้านการคมนาคมขนส่ง เช่น โครงการการพัฒนาประสิทธิภาพในการคมนาคมขนส่ง เป็นต้น

โครงการ CDM ในประเทศไทย

สถานภาพปัจจุบัน
จากข้อมูลปัจจุบัน พบว่า อัตราการปล่อยก๊าซเรือนกระจก ในภาคพลังงานของประเทศไทยมีสัดส่วนเพิ่มขึ้นปีละ 5% (หรือ 8 ล้านตัน) ซึ่งหากไทยให้การรับรองโครงการ CDM 15 โครงการที่ผ่าน Methodology Panel จะช่วยให้การปล่อยก๊าซ GHG ในภาพรวมของประเทศไทยลดลงได้ 3.3 ล้านตันคาร์บอนไดออกไซด์เทียบเท่า ต่อปี (tons CO2 equivalent / year) ดังนั้น หากมีการส่งเสริมให้ภาคเอกชนดำเนินโครงการ CDM มากขึ้น จะช่วย ให้ปริมาณการปลดปล่อยก๊าซเรือนกระจกของประเทศลดลง

การรับรองโครงการ CDM ในประเทศไทย

มติคณะรัฐมนตรี เมื่อวันที่ 30 มกราคม 2550 เห็นชอบ โครงการ CDM จำนวน 7 โครงการ และมอบหมายให้กระทรวงทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อม พิจารณาอย่างเร่งด่วน จำนวน 8 โครงการ ซึ่งทั้ง 7 โครงการสามารถลดก๊าซเรือนกระจกได้ประมาณ 1.2 ล้านตัน คาร์บอนไดออกไซด์เทียบเท่า และสามารถผลิตกระแสไฟฟ้าได้ 181 เมกะวัตต์ ได้แก่

โครงการผลิตไฟฟ้าจากเชื้อเพลิงชีวมวล (Biomass)

โครงการ Dan Change Bio-Energy Cogeneration Project ผลิตไฟฟ้าจาก กากอ้อย และใบอ้อย ตั้งอยู่ที่ จ. สุพรรณบุรี

โครงการ Phu Khieo Bio-Energy Cogeneration Project ผลิตไฟฟ้าจาก กากอ้อย และ ใบอ้อย ตั้งอยู่ที่ จ. ชัยภูมิ

โครงการ A.T.Biopower Rice Husk Power Project ผลิตไฟฟ้าจากแกลบ ตั้งอยู่ที่ จ. พิจิตร

โครงการ Khon Kaen Sugar Power Plant Project ผลิตไฟฟ้าจากกากอ้อย ตั้งอยู่ที่ จ. ขอนแก่น

โครงการ Rubber Wood Residue Power Plant in Yala, Thailand ผลิตไฟฟ้าจากเศษไม้ยางพารา ตั้งอยู่ที่ จ. ยะลา

โครงการผลิตไฟฟ้าจากก๊าซชีวภาพ (Biogas)

โครงการ Korat Waste to Energy Project, Thailand ผลิตไฟฟ้าจากก๊าซชีวภาพที่ได้จากน้ำเสียโรงงานแป้งมัน ตั้งอยู่ที่ จ. นครราชสีมา

โครงการ Ratchaburi Farms Biogas Project ผลิตไฟฟ้าจากก๊าซชีวภาพที่ได้จากน้ำเสีย ฟาร์มสุกร ตั้งอยู่ที่ จ.ราชบุรี

มติคณะรัฐมนตรี เมื่อวันที่ 28 สิงหาคม 2550 ได้เห็นชอบโครงการ CDM จำนวน 8 โครงการ ได้แก่

โครงการผลิตไฟฟ้าจากชีวมวล (Biomass)

โครงการ Suratthani Biomass Power Generation Project in Thailand ผลิตไฟฟ้าจาก ทะลายปาล์มเปล่า ตั้งอยู่ที่ จ. สุราษฎ์ธานี

โครงการ Surin Electricity Company Limited ผลิตไฟฟ้าจาก กากอ้อย และใบอ้อย ตั้งอยู่ที่ จ. สุรินทร์

โครงการผลิตไฟฟ้าและพลังงานความร้อนจากก๊าซชีวภาพ (Biogas)

โครงการ Wastewater Treatment with Biogas System in a Starch Plant for Energy and Environment Conservation at Nakorn Ratchasima ผลิตพลังงานความร้อนจากก๊าซชีวภาพที่ได้จากน้ำเสียโรงงานแป้งมัน ตั้งอยู่ที่ จ. นครราชสีมา

โครงการ Wastewater Treatment with Biogas System in a Starch Plant for Energy and Environment Conservation at Chachongsao ผลิตพลังงานความร้อนจากก๊าซชีวภาพที่ได้จากน้ำเสียโรงงานแป้งมัน ตั้งอยู่ที่ จ. ฉะเชิงเทรา

โครงการ Chumporn Applied Biogas Technology for Advanced Wastewater Management, Thailand ผลิตพลังงานความร้อนจากก๊าซชีวภาพที่ได้จากน้ำเสียโรงงานน้ำมันปาล์ม ตั้งอยู่ที่ จ. ชุมพร

โครงการ Natural Palm Oil Company Limited – 1 MW Electricity Generation and Biogas Plant Project ผลิตไฟฟ้าจากก๊าซชีวภาพที่ได้จากน้ำเสียโรงงานน้ำมันปาล์ม ตั้งอยู่ที่ จ. สุราษฎ์ธานี

โครงการ Northeastern Starch (1987) Co., Ltd. – Fuel Switching Project ผลิตไฟฟ้าจากก๊าซชีวภาพที่ได้จากน้ำเสียโรงงานแป้งมัน ตั้งอยู่ที่ จ. นครราชสีมา

โครงการผลิตไฟฟ้าจากหลุมฝังกลบขยะมูลฝอย (Landfill Gas)

โครงการ Jaroensompong Corporation Rachathewa Landfill Gas ผลิตกระแสไฟฟ้าจากก๊าซมีเทนจากหลุมฝังกลบขยะ ตั้งอยู่ที่ จ. สมุทรปราการ


ประโยชน์ของโครงการ CDM

กลไกการพัฒนาที่สะอาด (CDM) เปรียบเสมือนแรงจูงใจให้ประเทศกำลังพัฒนา หันมาใช้เทคโนโลยีสะอาดเพิ่มมากขึ้น อันจะส่งผลให้การปล่อยก๊าซเรือนกระจกลดลง ซึ่งหากไม่มีแรงจูงใจจากกลไกการพัฒนาที่สะอาดแล้ว ประเทศนอกภาคผนวกที่ I จะยังคงใช้เทคโนโลยีแบบเดิมที่มีต้นทุนต่ำและมีการปล่อยก๊าซเรือนกระจกใน ปริมาณมาก โดยแรงจูงใจที่กล่าวถึงคือ CERs ที่ผู้ดำเนินโครงการจะได้รับ และสามารถนำไปขายให้กับประเทศอุตสาหกรรมได้นั่นเองส่วนประเทศเจ้าบ้าน จะได้รับผลประโยชน์คือ การพัฒนาอย่างยั่งยืน ซึ่งสามารถสรุปได้ดังนี้

ด้านสิ่งแวดล้อม

มีการรักษาคุณภาพสิ่งแวดล้อมระดับชุมชนในพื้นที่โครงการ

ลดปริมาณของเสียที่เกิดขึ้น โดยการนำมาใช้เป็นเชื้อเพลิงพลังงาน

ลดการใช้ทรัพยากรเชื้อเพลิงที่ไม่สามารถทดแทนได้

คุณภาพสิ่งแวดล้อมโดยรวมของประเทศดีขึ้น

มีการถ่ายทอดและพัฒนาเทคโนโลยีที่สะอาดทั้งจากต่างประเทศและภายในประเทศ


ด้านเศรษฐกิจ กรณีที่เป็นโครงการ ด้านพลังงานทดแทนจะช่วยให้นำผลิตผลทางการเกษตร เช่น ปาล์ม มะพร้าว ทานตะวัน ผลสบู่ดำ ฯลฯ มาเป็นวัตถุดิบในการผลิตพลังงาน

เกษตรกรสามารถนำวัสดุเหลือใช้ เช่น แกลบ ใบอ้อย เศษไม้ ฯลฯ ไปขายเพื่อเป็นวัตถุดิบในการดำเนินโครงการ CDM

กระตุ้นเศรษฐกิจในระดับชุมชนให้เกิดการจ้างงานมากขึ้น

มีการผลิตสินค้าด้วยวิธีการที่สะอาดขึ้น

ลดการพึ่งพาการนำเข้าเชื้อเพลิงพลังงาน 

กระตุ้นเศรษฐกิจระดับชาติและเพิ่มความมั่นคงทางเศรษฐกิจ

มีรายได้จากภาษีเงินได้นิติบุคคลจากการซื้อขาย CERs ลดภาระของประเทศที่ภาครัฐจะต้องลงทุนในการรักษาสิ่งแวดล้อมและอนุรักษ์พลังงาน


ด้านสังคม

ประชาชนมีคุณภาพชีวิตที่ดีขึ้นโดยเฉพาะด้านสุขภาพอนามัยจากคุณภาพสิ่งแวดล้อมที่ดีขึ้น

เพิ่มทางเลือกในการประกอบกิจการที่เป็นประโยชน์ต่อสภาวะแวดล้อม

มีบทบาทในเวทีโลกในการแก้ไขปัญหาระดับนานาชาติ

ทำให้เพิ่มอำนาจต่อรองในการเจรจาระหว่างประเทศ

ข้อมูลจาก องค์การบริหารจัดการก๊าซเรือนกระจก (องค์การมหาชน)]